Sponsor
วัณโรค..ภัยในอากาศที่ต้องระวัง

วัณโรค (3,000-5,000 ปีก่อนคริสตศักราช) ก็เคยพบลักษณะของวัณโรคกระดูกสันหลัง
ฮิปโปเครตีส (400 ปีก่อนคริสตศักราช)ได้เคยบันทึกเกี่ยวกับวัณโรคนี้ไว้
และเรียกชื่อว่าคอนซัมชั่น(Consumption)

ในสมัยแรกไม่มีการรักษาที่จําเพาะ การป้องกันจะอาศัยการแยกผู้ป่วยไปอยู่ในสถานที่ที่จัดให้
ผู้ป่วยวัณโรคอยู่ โดยเฉพาะผู้ป่วยบางราย จะได้รับการรักษาโดยการเจาะปอดหรือใส่เฝือกยึดตรึงกระดูกที่เป็นโรค
ต่อมาจึงมีการใช้วัคซีนเพื่อป้องกัน และเมื่อมีการค้นพบยาต้านวัณโรคหลายขนานทําให้การรักษาวัณโรคได้ผลดีขึ้น
สาเหตุ
วัณโรค เป็นโรคติดเชื้อที่ทําให้อัตราป่วยและตายสูง เกิดจากเชื้อแบคทีเรียซึ่งมีอยู่หลายสายพันธ์ด้วยกัน
แต่เชื้อที่พบว่าเป็นสาเหตุการเกิดวัณโรคในมนุษย์ที่พบบ่อยที่สุดคือ เชื้อมัยโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลซิส (Mycobacterium tuberculosis) ซึ่งมีรูปร๋างหลายแบบคือ ยาว เรียว แท๋ง หรือโค็งเล็กน็อย
มีขนาดยาวประมาณ 1-2 ไมครอน กว้าง 0.3-0.6 ไมครอน เป็นเชื้อแบคทีเรียที่ไม่มีสปอร์
แต่มีผนังหุ้มเซลล์หนา จากการที่มีไขมันที่ผนังหุ้มเซลล์จํานวนมาก ทําให้ทนทานต่อสิ่งแวดล้อม
อาการ
อาการที่พบได้โดยทั่วไปในผู้ป่วยวัณโรคคือ ไข้เรื้อรัง น้ำหนักลด มีเหงื่อออก เวลากลางคืน เบื่ออาหาร
และอาการที่สําคัญที่แสดงทางปอดที่พบได้บ่อยคือ ไอเรื้อรังเป็นเวลานานเกิน 2 สัปดาห์
โดยเริ่มจากการไอแห้งๆ หากมีอาการรุนแรงมากจะมีเสมหะปนออกมามากจนในที่สุดอาจมีเลือดปนออกมากับเสมหะ ทําให้เสมหะเป็นสีน้ำตาล หรือเป็นเลือดสดๆ ในบางครั้งผู้ป่วยอาจมีอาการเจ็บหน้าอกหรือรู้สึกแน่นหน้าอกร่วมด้วย
การวินิจฉัย
- การซักประวัติและการตรวจร่างกาย อาการทั่วไป ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลีย
เบื่ออาหาร น้ําหนักลด มีไข้ต่ำๆ มักเป็นตอนบ่ายหรือตอนเย็น - อาการทางปอด จะมีอาการไอ อาจไอเป็นเลือด ไอเสมหะมีเลือดปน เสมหะมักมีสีเหลืองเขียว
และมีกลิ่นเหม็น บางรายมีอาการเจ็บหน้าอก เหนื่อยง่าย - ตรวจเสมหะโดยวีธีย้อมเชื้อทนกรด การตรวจเชื้อทนกรดด้วย เสมหะนี้มีความไว
ซึ่งการตรวจหาเชื้อทนกรดในเสมหะด้วยกล้องจุลทรรศน์ จะมีโอกาสพบเชื้อวัณโรคได้ ถ้าในเสมหะ 1 มิลลิลิตร
มีเชื้อประมาณ 5,000-10,000 ตัว ขึ้นไป แต่ถ้าปริมาณเชื้อน้อยกว่านี้ โอกาสตรวจพบด้วยกล้องจุลทรรศน์
จะลดลงมาก - การตรวจ ควรตรวจซ้ำอย่างน้อย 3 ครั้ง การเพาะเชื้อในเสมหะ เป็นการตรวจที่ให้ผลถูกต้องและมีความไว

การรักษา
วิธีการหลักในการรักษาวัณโรคมี 2 ประการ คือ
- การรักษาที่มีประสิทธิภาพ จะต้องประกอบด้วยยาที่เชื้อวัณโรคไม่ดื้อยาอย่างน้อย 2 ชนิด
และยาชนิดหนึ่งต้องเป็นยาที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อวัณโรค (bactericidal drug) - การรักษาด้วยระบบยาระยะสั้น ใช้เวลารักษา 6-9 เดือน และมีประสิทธิผลสูง ยาที่ใช้ส่วนใหญ่ เป็นยาในกลุ่มที่มีฤทธิ์ฆ่าทําลายเชื้อ คือไรแฟมซิน ไอโสไนอะซิด สเตร็พโตมัยซิน พัยราซินาไมด์
นอกจากนี้ การรักษาวัณโรคให้หายขาด ต้องการระบบยาที่ดีที่สามารถทําให้ผู้ปวยมีอาการดีขึ้น
และไม่กลับมาเป็นใหมภายหลังหยุดการรักษาแล้วด้วย