โรคกระเพาะอาหาร..โรคยอดฮิตในวันนี้

0
2333

Sponsor


โรคกระเพาะอาหาร..โรคยอดฮิตในวันนี้ 

how-to-deal-with-and-cure-a-stomach-ache-in-culver-city
schechtermd.com

ในสังคมที่มีการแข่งขัน การดำเนินชีวิตที่เร่งรีบ ส่งผลให้สุขภาพร่างกายเสื่อมลง
ซึ่งโรคหนึ่งที่พบบ่อยคือ การเกิดแผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กส่วนต้น หรือที่เรียกว่า
โรคกระเพาะอาหาร (Peptic Ulcer Disease) มันเป็นโรคเรื้อรัง ผู้ป่วยจะมีอาการเป็นๆ หายๆ
ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญในปัจจุบัน สถิติผู้ป่วยโรคระบบทางเดินอาหารจัดอยู่ใน 1 ใน 10 อันดับแรกของโรคที่พบผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล โดยพบว่ามีสถิติเพิ่มขึ้นทุกปีเลยทีเดียว


แม้ว่าความรุนแรงของโรคโดยทั่วๆ ไปจะไม่ทำให้ผู้ป่วยถึงกับเสียชีวิตในทันที
แต่จำนวนครั้งที่ทำให้ผู้ป่วยต้องกลับมาที่โรงพยาบาล ต้องเสียค่าใช้จ่ายไปกับค่ารักษาพยาบาล
ต้องขาดงานเพื่อรักษาตัว รวมทั้งอาจจะทำให้เสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะเลือดออกในกระเพาะอาหาร (Hemorrhage) กระเพาะอาหารทะลุ (Perforation) และกระเพาะอาหารอุดตัน (Obstruction)
ซึ่งมีผู้ป่วย 342 รายเสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวในปีเดียวกัน (2543-2544)
อีกทั้งยังมีผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อนของโรคกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้นอีกเยอะมาก

youtube.com/watch?v=KszpR_n9Zq8
youtube.com/watch?v=KszpR_n9Zq8

สาเหตุของการเกิดโรคกระเพาะอาหารในปัจจุบัน พบว่าเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน
โดยเกิดจากความไม่สมดุลระหว่างปัจจัยทำลาย (Aggressive factors) กับภาวะที่ป้องกันการทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหาร (Defensive factors) รวมทั้งการติดเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pylori ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทางการแพทย์ให้ความสำคัญมาก และมีปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมอาการของโรคให้รุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะปัจจัยทางด้านพฤติกรรม
ของผู้ป่วยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคกระเพาะอาหาร เช่น พฤติกรรมการกินอาหารและเครื่องดื่ม
เช่น กินอาหารไม่เป็นเวลา กินอาหารรสจัด กินอาหารที่ย่อยยาก โดยเฉพาะอาหารที่มีมันมาก
รวมถึงการดื่มชา กาแฟเครื่องดื่มชูกำลัง ที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน เหล้า เบียร์ ยาดองหรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสม
ของแอลกอฮอล์อื่นๆ พฤติกรรมการจัดการกับความเครียดในชีวิตประจำวัน ภาวะที่เจ็บป่วยด้วยโรคกระเพาะอาหาร

จากสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน รวมถึงปัญหาครอบครัวในแต่ละคน พฤติกรรมการกินยา ประกอบด้วย
การใช้ยาแก้ปวด หรือยาต้านการอักเสบ ที่ไม่ใช่สเตียรอยด์อย่างไม่ถูกต้อง และพฤติกรรมการปฏิบัติตัวเมื่อเจ็บป่วย
ด้วยโรคกระเพาะอาหาร เช่น การไม่ยอมมารับการตรวจตามนัด ไม่กินอาหารให้ตรงเวลา กินอาหารรสจัด
ไม่งดดื่มชา กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลังที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน การกินยารักษาโรคกระเพาะอาหาร
เฉพาะเมื่อมีอาการปวดมากๆ เมื่ออาการปวดทุเลาลงจะหยุดกินยาโดยไม่ครบเวลาตามที่แพทย์สั่ง

โรคกระเพาะอาหาร สามารถรักษาให้หายขาดได้ ถ้าได้รับการรักษาที่ต่อเนื่อง ร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง เพียงเท่านี้เราก็จะหายจากโรคได้ค่ะ