Sponsor
โรคหลอดเลือดหัวใจ..ภัยร้ายใกล้ตัวที่ต้องระวัง

โรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นโรคที่เกิดจากการตีบแคบและอุดตันของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ
ทําให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่เพียงพอ เกิดการตายของกล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่
เกิดจากภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerosis) ซึ่งเป็นภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลง
ของผนังหลอดเลือดแดงจนกระทั่งทําให้หลอดเลือดอุดตันจากการสะสมของไขมันและแคลเซียม
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องได้แก่ การมีอายุมากขึ้น และพฤติกรรมการดํารงชีวิตที่เสี่ยง เช่น การขาดการออกกําลังกาย
การสูบบุหรี่ การกินอาหารที่มีไขมันและโคเลสเตอรอลสงู โดยสภาพของหลอดเลือดเปลี่ยนแปลงจากบาง เรียบ
และยืดหยุ่น เป็นขรุขระ และตีบ
ซึ่งในปัจจุบัน การรักษาด้วยบอลลูน แม้ว่าจะมีความปลอดภัยและรวดเร็ว ภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่าการผ่าตัด
แต่ก็ยังพบว่ามีปัญหาในเรื่องการตีบซ้ำ (stenosis) ซึ่งพบร้อยละ 20-50 ซึ่งแนวทางที่จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวคือ ควรมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ได้แก่ พฤติกรรมการกินอาหาร
พฤติกรรมการออกกําลังกาย และพฤติกรรมการกินยา เพราะฉะนั้นผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ
จึงควรได้รับการส่งเสริมพฤติกรรมในการออกกําลังกายให้เพิ่มมากขึ้น
แต่ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ มีข้อจํากัดในการปฏิบัติโดยเฉพาะด้านร่างกาย
โดยพยาธิสภาพของโรคจะทําให้การทําหน้าที่ของร่างกายลดลง เหนื่อยง่าย
เนื่องจากปริมาณเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อไม่เพียงพอ และอาจเกิดอาการเจ็บหน้าอกขึ้น
ขณะที่ผู้ป่วยออกกําลังกาย หรือแม้ในขณะพัก ส่งผลให้ผู้ป่วยไม่กล้าทํากิจกรรมใดๆ
กลัวว่าจะกระทบกระเทือน และเป็นอันตราย
สําหรับผู้ที่รู้ว่าตนเองเจ็บป่วยด้วยโรคหัวใจ จะมีความกลัวว่าตนเองมีโอกาสเสียชีวิตได้อย่างกะทันหัน
และวิตกกังวลว่าการออกแรงใดๆ จะทําให้หัวใจต้องทํางานหนัก ซึ่งการออกกําลังกายเป็นพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพอย่างหนึ่งของมนุษย์เพื่อให้เกิดภาวะสุขภาพดี เเละเพื่อยกระดับภาวะสุขภาพให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
พฤติกรรมการออกกําลังกาย คือ การปฏิบัติที่มีการเคลื่อนไหวของร่างกายตามแบบแผนที่วางไว้
ยึดหลักเกณฑ์ของวิทยาลัยแพทย์การกีฬา (the American College of Sports Medicine)
โดยให้ออกกําลังกายโดยการเดิน ประกอบด้วย 3 ระยะคือ ระยะการอบอุ่นร่างกาย 5 นาที
ระยะการเดิน 20 นาที และระยะผ่อนคลาย 5 นาที รวมระยะเวลาทั้งหมด 30 นาที
เพิ่มระยะเวลาในการออกกําลังกายขึ้นทีละน้อย จนได้ 20 นาทีสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ระดับความหนักเบาปานกลาง
(อัตราการเต้นของหัวใจเป้าหมายประมาณ 64-100 ครั้ง/นาทีหรือร้อยละ 40-60 ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุด)
สิ่งที่สำคัญที่สุด ก็คือการออกกำลังหายและการควบคุมอาหารให้เป็นปกติ
จึงจะช่วยบรรเทาอาการของโรคนี้ไม่ให้เป็นหนักมากกว่าเดิมได้